เมนู

พร้อมด้วยเวลาจบพระคาถา ฯ ล ฯ นั่งประนมมืออัญชลีนมัสการ
พระผู้มีพระภาคเจ้าประกาศว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้า
เป็นพระศาสดาของข้าพระองค์ ข้าพระองค์เป็นสาวก ดังนี้.
จบนันทมาณวกปัญหานิทเทสที่ 7

อรรถกถานันทมาณวกปัญหานิทเทสที่ 7


พึงทราบวินิจฉัยในนันทสูตรที่ 7 ดังต่อไปนี้.
พึงทราบความคาถาต้นต่อไป ชนทั้งหลายมีกษัตริย์เป็นต้นในโลก
ย่อมกล่าวกันว่า มุนีทั้งหลายมีอยู่ในโลก หมายถึงอาชีวกและนิครนถ์
เป็นต้น ข้อนี้เป็นอย่างไร ชนทั้งหลายย่อมกล่าวผู้ประกอบด้วยญาณว่า
เป็นมุนี เพราะเป็นผู้ประกอบด้วยญาณ หรือย่อมกล่าวถึงบุคคลผู้ประกอบ
ด้วยความเป็นอยู่ กล่าวคือมีความเป็นอยู่เศร้าหมองมีประการต่าง ๆ ว่า
เป็นมุนี.
พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศต่อไปดังนี้.
บทว่า อฏฺฐสมาปตฺติญาเณน วา คือ ด้วยญาณอันสัมปยุตด้วย
สมาบัติ 8 มีปฐมฌานเป็นต้น. บทว่า ปญฺจาภิญฺญาญาเณน วา ด้วย
ญาณในอภิญญา 5 คือ หรือด้วยญาณ คือการรู้ขันธปัญจกที่อาศัยอยู่ใน
ชาติก่อนเป็นต้น.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงห้ามแม้ทั้งสองอย่างของ
นันทมาณพนั้น เมื่อจะทรงแสดงความเป็นมุนี จึงตรัสคาถาว่า น ทิฏฺฐิยา

ท่านผู้ฉลาดย่อมไม่กล่าวบุคคลผู้ประกอบด้วยทิฏฐิว่าเป็นมุนี ดังนี้เป็นต้น.
บัดนี้ นันทมาณพเพื่อละความสงสัยในวาทะของผู้กล่าวอยู่ว่า ความ
บริสุทธิ์ย่อมมีด้วยทิฏฐิเป็นต้น จึงทูลถามว่า เยเกจิเม สมณพราหมณ์
เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ดังนี้เป็นต้น.
ในบทเหล่านั้น บทว่า อเนกรูเปน ด้วยมงคลหลายชนิด คือด้วย
มงคลมีโกตุหลมงคล (มงคลเกิดจากการตื่นข่าว) เป็นต้น. บทว่า
ตตฺถ ยตา จรนฺตา สำรวมแล้วประพฤติอยู่ในทิฏฐินั้น คือคุ้มครองอยู่
แล้วในทิฏฐิของตนนั้น.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงความไม่มีความ
บริสุทธิ์อย่างนั้น จึงตรัสคาถาที่ 4.
นันทมาณพครั้นสดับว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้นข้ามไม่ได้อย่างนี้
แล้ว บัดนี้ ประสงค์จะฟังถึงผู้ที่ข้ามได้แล้ว จึงทูลถามว่า เยเกจิเม
ดังนี้เป็นต้น.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงถึงผู้ที่ข้ามชาติชรา
ได้ด้วยหัวข้อว่า ผู้ข้ามโอฆะได้แล้ว แก่นันทมาณพนั้น จึงตรัสคาถาที่ 6.
ในบทเหล่านั้น บทว่า นิวุตา คือ เป็นผู้อันชาติและชราหุ้มห่อแล้ว
รึงรัดแล้ว. บทว่า เยสีธ ตัดบทเป็น เย สุ อิธ. บทว่า สุ เป็นเพียง
นิบาต. บทว่า ตณฺหํ ปริญฺญาย คือ กำหนดรู้แล้วซึ่งตัณหาด้วย
ปริญญา 3. บทที่เหลือในบททั้งปวงชัดดีแล้ว เพราะมีนัยดังกล่าวมาแล้ว
ในบทก่อน.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจบเทศนาด้วยธรรมเป็นยอด คือพระ-
อรหัตด้วยประการฉะนี้.

เมื่อจบเทศนา นันทมาณพพอใจพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้า
ยิ่งนัก จึงกล่าวคาถาว่า เอตาภินนฺทามิ ข้าพระองค์ย่อมพอใจพระวาจา
นั้นดังนี้เป็นต้น. ได้มีผู้บรรลุธรรมเช่นกับที่กล่าวไว้แล้ว แม้ในนิเทศ
นี้และนิเทศก่อนนั่นแล.
จบอรรถกถานันทมาณวกปัญหานิทเทสที่ 7

เหมกมาณวกปัญหานิทเทส


ว่าด้วยปัญหาของท่านเหมกะ


[324] (ท่านเหมกะทูลถามว่า)
ในกาลอื่นก่อนแต่ศาสนาของพระโคดม พวกอาจารย์
เหล่านี้พยากรณ์ว่า เรื่องนี้มีแล้วดังนี้ เรื่องนี้จักมีดังนี้
คำทั้งหมดนั้นเป็นคำกล่าวสืบ ๆ กันมา คำทั้งหมดนั้น
เป็นเครื่องยังความตรึกให้เจริญ ข้าพระองค์ไม่ยินดีใน
คำนั้น.

[325] คำว่า เย ในอุเทศว่า เยเม ปุพฺเพ วิยากํสุ ดังนี้
ความว่า พาวรีพราหมณ์และพราหมณ์อื่น ซึ่งเป็นอาจารย์ของพาวรี-
พราหมณ์ พยากรณ์แล้ว คือ บอกแล้ว . . . ประกาศแล้ว ซึ่งทิฏฐิของตน
ความควรของตน ความชอบใจของตน ลัทธิของตน อัธยาศัยของตน
ความประสงค์ของตน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ในกาลอื่นก่อน . . . พวก
อาจารย์เหล่านี้พยากรณ์แล้ว.
คำว่า อิติ ในอุเทศว่า อิจฺจายสฺมา เหมโก ดังนี้ เป็นบทสนธิ
ฯลฯ คำว่า อิติ นี้ เป็นไปตามลำดับบท.
คำว่า อายสฺมา เป็นเครื่องกล่าวด้วยความรัก เป็นเครื่องกล่าว
ด้วยความเคารพ. คำว่า อายสฺมา นี้ เป็นเครื่องกล่าวเป็นไปกับด้วย
ความเคารพและความยำเกรง.
คำว่า เหมโก เป็นชื่อ ฯ ล ฯ เป็นคำร้องเรียกของพราหมณ์นั้น
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ท่านเหมกะทูลถามว่า.